สำนักงานกฎหมาย

นพนภัส

ทนายความเชียงใหม่

สัญญากู้ยืมเงินนั้น หากไม่ได้ลงลายมือชื่อผู้ให้กู้ยืมเงินแล้ว จะใช้เป็นหลักฐานในการฟ้องคดีได้หรือไม่

หลายๆ ท่านในที่นี้ ย่อมต้องมีปัญหาทางด้านการเงินกันทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นใครๆก็ตาม เช่น หนี้ค่างวดบ้าน หนี้ค่าเช่าบ้าน หนี้ค่างวดรถ หนบัตรเคดิต หนี้ค่าเทอมลูก รวมไปถึงหนี้นอกระบบ เป็นต้น หนี้เหล่านี้ล้วนมีแต่ี้ ก็ต้องลงเอ่ยที่ก่อนให้เกิดเรื่องกวนใจไม่รู้จบสิ้น สุดท้ายแล้ว ไปกู้ยืมเงินเพื่อน จนกระทั้งตกลงทำสัญญากู้ยืมเงินระหว่างกันกู้ยืมเงินคนรู้จัก จึงนำมาสู่
 
คำถามว่า สัญญากู้แท้จริงแล้ว มีหลักฐานตามกฎหมายอย่างไรบ้าง
 
หลักเกณฑ์ตามกฎหมายได้กำหนดเอาไว้ใน ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ "มาตรา 653 การกู้ยืมเงินกว่าสองพันบาทขึ้นไปนั้น ถ้าไม่ได้มีหลักฐานาแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญ
จะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่"
 
จากหลักกฎหมายดังกล่าว กฎหมายกำหนดว่า จำเป็นต้องมีลายมือชื่อผู้กู้เท่านั้น ก็สามารถที่จะนำมาเป็นหลักฐานในการฟ้องคดีต่อศาลได้แล้ว แต่ก็มีข้อสงสัยว่า แล้วสัญญากู้ไม่ปรากฎว่า มีลายมือชื่อผู้ให้กู้ อย่างนี้แล้ว จะส่งผลต่อพยานหลักฐานในการฟ้องคดีหรือไม่อย่างไร โดยจะยกตัวอย่างเพื่อให้เห็นภาพและสามาถเข้าใจได้มากขึ้น
 
ตัวอย่างเช่น เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2560 นาย ก กู้ยืมเงิน นาย ข จำนวน 500,000 บาท ตกลงดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปี กำหนดชำระคืนภายใน วันที่ 1 มกราคม 2568 นาย ก ได้นำเอากระดาษเปล่าหนึ่งแผ่นมาแล้วเขียนว่า นาย ก กู้เงิน นาย ข 500,000 บาท จะคืนให้ภายในวันที่ 1 มกราคม 2568 พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปี แล้วลงลายมือชือไว้ มอบให้แก่นาย ข ไป ต่อมา เมื่อครบกำหนดตามที่ได้ตกลงกันแล้ว นาย ก ไม่ได้นำเงินต้นพร้อมดอกเบี้ยมาคืนให้แก่นาย ข จึงมีปัญหาว่า นาย ข จะนำกระดาษที่นาย ก เขียนให้มาฟ้องคดีได้หรือไม่
 
จากกรณีตามปัญหา จะเห็นได้ว่า หลักฐานที่นาย ก ส่งมอบให้แก่นาย ข นั้น ไม่มีลายมือชื่อของนาย ข ไว้เลย อย่างนี้แล้ว หลักฐานจะมีความบกพร่องหรือไม่
 
จากมาตรา 653 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ กฎหมายต้องการเพียงว่า ให้มีลายมือชื่อของนาย ก จำนวนเงินที่กู้ที่แน่นอน และมีข้อความว่า กู้ยืมเงิน หรือ มีข้อความว่า จะคืนเงินให้ ก็สามารถใช้เป็นหลักฐานในการฟ้องคดีได้แล้ว ไม่นำเป็นที่จะต้องถึงขนาดว่า มีลายมือชื่อทั้งสองฝ่ายให้ครบถ้วน ดังนั้น หลักฐานที่นาย ก ส่งมอบให้แก่นาย ข ย่อมเป็นหลักฐานที่ถูกต้องตามกฎหมายแล้ว
 
จากกรณีตามปัญหามีคำตัดสินหรือคำพิพากษาของศาล ตัดสินไว้ดังนี้
 
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4537/2553 ป.พ.พ. มาตรา 653 วรรคแรก (เดิม) บัญญัติว่า "การกู้ยืมเงินกว่าห้าสิบบาทขึ้นไปนั้น ถ้ามิได้มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญ ท่านว่าจะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่" สาระสำคัญของหลักฐานเป็นหนังสือตาม ป.พ.พ. มาตรา 653 วรรคแรก อยู่ที่ว่า มีการแสดงให้เห็นว่ามีการกู้ยืมเงินกันก็เพียงพอแล้ว ไม่ได้บังคับถึงกับจะต้องระบุชื่อของผู้ให้กู้ไว้ ดังนั้น เมื่อโจทก์นำหนังสือสัญญากู้และค้ำประกันมาฟ้องจำเลยทั้งสาม และปรากฏชัดว่าเอกสารพิพาทมีสาระสำคัญแสดงให้เห็นว่า จำเลยที่ 1 กู้ยืมเงินจากผู้ให้กู้ แม้จะไม่ได้ระบุชื่อผู้ให้กู้ไว้ให้ถูกต้อง แต่ระบุจำนวนเงินและจำเลยที่ 1 ลงลายมือชื่อไว้ในฐานะผู้กู้ครบถ้วน จึงถือว่าเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมและค้ำประกันของโจทก์ได้แล้ว
 
แต่หากมีการกรอกข้อความไม่ตรงกับความเป็นจริงแล้ว จะมีผลอย่างไร เช่น เจ้าหนี้กรอกข้อความในสัญญากู้ว่า กู้ยืมเงินจำนวน 100,000 บาท แต่ความเป็นจริงแล้ว กู้ยืมเงินกันเพียง 20,000 บาท เป็นต้น ในกรณีเช่นนี้ ของให้ท่านคลิกอ่านลิงค์บทความข้างล่างนี้ได้เลย
 
-ผู้ให้กู้กรอกจำนวนเงินไม่ตรงต่อความเป็นจริง
โดย ทนายความเชียงใหม่