สำนักงานกฎหมาย

นพนภัส

ทนายความเชียงใหม่

สายไฟฟ้าแรงสูงพาดผ่านที่ดิน

ในสังคมมีจำนวนประชากรเพิ่มมากขึ้น  จึงจำเป็นต้องมีการขยายและพัฒนาระบบสาธารณูปโภคและบริการสาธารณะเพิ่มมากขึ้น ตามจำนวนของประชากรที่เพิ่มมากขึ้น และบ่อยครั้งที่การขยายและพัฒนาระบบสาธารณูปโภคของหน่วยงานภาครัฐนั้นไปกระทบต่อสิทธิของชาวบ้าน
ตัวอย่างที่จะหยิบยกขึ้นมาให้ดูกันในวันนี้ เป็นเรื่องของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยได้มีการกำหนดเขตเดินสายไฟฟ้า โดยเขตดังกล่าวมีการติดตั้งเสาไฟฟ้าและสายไฟฟ้าแรงสูงพาดผ่านที่ดินของนายแก้ว  โดยนายแก้วคัดค้านการติดตั้งเสาไฟฟ้าแรงสูงในที่ดินของตนและสายไฟฟ้าแรงสูงที่จะพาดผ่านในที่ดินของตนดังกล่าว โดยอ้างผลการวิจัยของประเทศอังกฤษและประเทศออสเตรเลียซึ่งพบว่าผู้ที่อยู่ใกล้สายไฟฟ้าแรงสูงจะเป็นมะเร็งมากกว่าผู้ที่อยู่ห่างไกลจากสายไฟฟ้าแรงสูง แต่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยแจ้งว่าไม่สามารถปรับย้ายตำแหน่งที่ตั้งของเสาไฟฟ้าออกจากที่ดินของนายแก้วได้เนื่องจากไม่สามารถออกแบบเสาไฟฟ้าให้อยู่นอกพื้นที่ของนายแก้วได้เนื่องจากข้อจำกัดทางด้านวิศวกรรมสายส่งไฟฟ้าหลักเกณฑ์ในการพิจารณา แต่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยได้ปรับเลื่อนพื้นที่ตั้งเสาไฟฟ้าให้เกิดผลกระทบกับนายแก้วให้มากที่สุดแล้ว นายแก้วเห็นว่าการที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยต้องการติดตั้งเสาไฟฟ้าแรงสูงในที่ดินของนายแก้วนั้น ทำให้ที่ดินของนายแก้วเสื่อมราคาจำนวนหลายล้านบาท และทำให้นายแก้วและครอบครัวเสียงภัยจากการเป็นมะเร็ง อันเป็นการกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของนายแก้วผู้ฟ้องคดี ตาม รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 (รัฐธรรมนูญที่บังคับใช้ขณะเกิดคดีพิพาท)มาตรา 29  จึงนำคดีไปฟ้องยังศาลปกครอง

ศาลปกครองสูงสุดพิเคราะห์แล้วเห็นว่า รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา ๒๙ วรรคหนึ่ง บัญญัติไว้ว่า “การจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลที่รัฐธรรมนูญรับรองไว้จะกระทํามิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เฉพาะเพื่อการที่รัฐธรรมนูญนี้กําหนดไว้และเท่าที่จําเป็น และจะกระทบกระเทือนสาระสําคัญแห่งสิทธิและเสรีภาพนั้นมิได้” พระราชบัญญัติ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๑๑ มาตรา 29 วรรคหนึ่ง บัญญัติไว้ว่า “ในการส่งและการจำหน่าย

พลังงานไฟฟ้า ให้ กฟผ. มีอำนาจ (๑) เดินสายส่งไฟฟ้าหรือสายจำหน่ายไฟฟ้าไปใต้ เหนือ ตามหรือข้ามพื้นดินของ บุคคลใด ปักหรือตั้งเสาสถานีไฟฟ้าย่อยหรืออุปกรณ์อื่น ลงในหรือบนพื้นดินของบุคคลใดซึ่งมิใช่เป็น ที่ตั้งโรงเรือน (๒) ประกาศกำหนดเขตเดินสายไฟฟ้าเพื่อประโยชน์แห่งความปลอดภัยในการส่ง พลังงานไฟฟ้า โดยประกาศไว้ ณ ที่ว่าการอำเภอแห่งท้องที่ซึ่งที่ดินนั้นตั้งอยู่ และจัดทำเครื่องหมาย แสดงไว้ในที่ที่ประกาศกำหนดเขตนั้นตามสมควร...”
คดีนี้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยผู้ถูกฟ้องคดี เป็นรัฐวิสาหกิจที่ตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติ มีอำนาจหน้าที่ในการผลิต จัดให้ได้มา จัดส่งหรือจำหน่ายพลังงานไฟฟ้าให้แก่การไฟฟ้านครหลวง หารไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ฯลฯ ซึ่งเป็นกิจการด้านสาธารณูปโภคที่สำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับประชาชน อันเป็นการจัดทำบริการสาธารณะหรือกิจการทางปกครองอย่างหนึ่ง ดังนั้นในการส่งและจำหน่ายพลังงานไฟฟ้า กฎหมายจึงให้อำนาจรัฐแก่ผู้ถูกฟ้องคดีในการประกาศกำหนดเขตเดินสายไฟฟ้าเพื่อประโยชน์แห่งความปลอดภัยในการส่งพลังงานไฟฟ้า และเดินสายส่งไฟฟ้าหรือสายจำหน่ายไฟฟ้า ไปใต้ เหนือ ตามหรือข้ามพื้นดินของบุคคลใด ปักหรือตั้งเสาลงในหรือบนที่ดินของบุคคลใด ตามมาตรา 29 วรรคหนึ่ง (1) และ (2) แห่งพระราชบัญญัติการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๑๑ การที่ผู้ถูกฟ้องคดีได้มีประกาศ เรื่องเขตเดินสายไฟฟ้า สายส่งไฟฟ้า 230 กิโลโวล์.....เพื่อปรับปรุงระบบโครงข่ายเดิม และกำหนดจุดติดตั้งเสาไฟฟ้าแรงสูงในที่ดินของผู้ฟ้องคดี เป็นการใช้อำนาจตามมาตรา29 วรรคหนึ่ง (1) และ (2) แห่งพระราชบัญญัติการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๑๑ เท่าที่จำเป็นและไม่กระทบกระเทือนสาระสำคัญแห่งสิทธิในการใช้สอยที่ดินของผู้ฟ้องคดี  การกระทำของผู้ถูกฟ้องคดีดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมาย

ส่วนที่ผู้ฟ้องคดีอ้างว่ามีการค้นพบงานวิจัยของประเทศอังกฤษ ประเทศออสเตรเลียและประเทศอื่นๆ ซึ่งเป็นการวิจัยที่แน่นอนแล้วว่า การอยู่ใกล้สายไฟฟ้าแรงสูงมีโอกาสเป็นมะเร็งมากถึง 2 เท่า ในระยะ 300 เมตร หรือในระยะ 50 เมตร มีโอกาสเป็นมะเร็งถึงร้อยละ 7 ผู้ถูกฟ้องคดีจึงต้องกันระยะความปลอดภัยให้แก่เจ้าของที่ดินเป็นระยะอย่างน้อยด้านละ 50 เมตร (รวมเป็น 100 เมตร) นั้น เห็นว่าการพิจารณาความเสี่ยงภัยเกี่ยวกับโอกาสในการเป็นโรคมะเร็งอันมีสาเหตุมาจากการอยู่ใกล้สายไฟฟ้าแรงสูง จำต้องพิจารณาจากผลการวิจัยและความเห็นทางวิชาการ แต่ความเห็นทางวิชาการที่ผู้ฟ้องคดีอ้างและที่ปรากฏในเวลาฟ้องคดีเป็นผลการวิจัยที่ไม่สามารถยืนยันได้ว่าสนามแม่เหล็กไฟฟ้ามีผลต่อการเกิดโรคมะเร็ง เพียงแต่เป็นความเห็นไปในทางที่มีความน่าจะเป็นไปได้เท่านั้น จึงเป็นข้ออ้างที่ยังไม่มีการพิสูจน์ว่าเป็นความจริง พิพากษาให้ยกฟ้องผู้ฟ้องคดี (คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ.180/2562