สำนักงานกฎหมาย

นพนภัส

ทนายความเชียงใหม่

เมื่อเป็นเจ้าหนี้จำนองแล้วย่อมมีสิทธิตามกฎหมายอย่างไรบ้าง

เจ้าหนี้จำนองมีสิทธิฟ้องคดีอย่างไรบ้าง
บ้างท่านอาจเป็นเจ้าหนี้เงินกู้ แล้วมีการจำนองที่ดินเป็นประกันหนี้เงินกู้ ซึ่งตามกฎหมายแล้ว เจ้าหนี้จำนองสามารถมีสิทธิตามกฎหมาย ๒ กรณี คือ การฟ้องคดีแบบธรรมดา หรือ การฟ้องคดีแบบบังคับจำนอง ซึ่งผลตามกฎหมายย่อมแตกต่างกัน กล่าวคือ การฟ้องคดีแบบธรรมดานั้นเจ้าหนี้สามารถยึดทรัพย์สินของลูกหนี้ได้ทุกอย่าง แต่มีขอบกพร่องตามกฎหมายคือ อาจถูกฟ้องขอเฉลี่ยทรัพย์ที่ยึด เป็นต้น ส่วนการฟ้องแบบบังคับจำนองนั้น เจ้าหนี้สามารถยึดทรัพย์สินได้เฉพาะทรัพย์ที่จำนองเท่านั้น เว้นแต่ได้ทำข้อตกลงยกเว้นเอาไว้ และมีข้อดีที่ว่า หากมีการบังคับคดีขายที่ดินที่จำนองแล้ว ย่อมได้รับเงินเป็นเต็มก่อนเจ้าหนี้รายอื่นหรือที่เรียกว่า เจ้าหนี้บุริมสิทธิ์นั้น เอง
ทั้งนี้ มีแนวคำพิพากษาศาลฎีกาได้ตัดสินเอาไว้ ดังนี้

 
 

 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 932/2550
การจำนองเป็นสัญญาเอาทรัพย์สินตราไว้เป็นการประกันหนี้โดยมีหนี้ประธานและจำนองอันเป็นอุปกรณ์ของหนี้นั้น ซึ่งอาจแยกออกเป็นคนละส่วนต่างหากจากกันได้ เจ้าหนี้จึงชอบที่จะใช้สิทธิเรียกร้องอย่างหนี้สามัญ คือ บังคับชำระหนี้จากทรัพย์สินทั่วไปของลูกหนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 213 หรือจะบังคับจำนอง คือ ใช้บุริมสิทธิ์บังคับชำระหนี้จากทรัพย์สินที่จำนองตามมาตรา 728 ก็ได้ ทั้งไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายบังคับว่าในกรณีซึ่งเป็นหนี้จำนองแล้ว ผู้เป็นเจ้าหนี้จะฟ้องร้องบังคับลูกหนี้อย่างหนี้สามัญตามมาตรา 214 ไม่ได้ เป็นแต่เพียงกฎหมายบังคับว่า ในกรณีที่โจทก์ใช้สิทธิบังคับจำนองสิทธิของโจทก์ย่อมตกอยู่ภายใต้บังคับแห่งมาตรา 733 เท่านั้น ประกอบกับมาตรา 733 มิได้บังคับว่าโจทก์มีสิทธิฟ้องบังคับจำนองได้แต่ทางเดียว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินได้ เมื่อจำเลยไม่ชำระหนี้แก่โจทก์ตามคำพิพากษา โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะบังคับคดีแก่ทรัพย์สินอื่น ๆ ของจำเลยรวมทั้งทรัพย์ที่จำนองได้ มิใช่โจทก์มีสิทธิบังคับคดีได้แต่เฉพาะที่ดินที่จดทะเบียนจำนองเป็นประกันหนี้เงินกู้เท่านั้น

โดย ทนายความเชียงใหม่