สำนักงานกฎหมาย

นพนภัส

ทนายความเชียงใหม่

ประมวลกฎหมายอาญา

มาตรา ๕๓  ในการลดโทษจำคุกตลอดชีวิต ไม่ว่าจะเป็นการลดมาตราส่วนโทษหรือลดโทษที่จะลง ให้เปลี่ยนโทษจำคุกตลอดชีวิตเป็นโทษจำคุกห้าสิบปี

คำพิพากษาที่เกี่ยวข้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12128/2556 การที่ศาลชั้นต้นลงโทษจำเลยที่ 1 ฐานเป็นคนต่างด้าวเข้ามาในราชอาณาจักรโดยไม่ผ่านช่องทางด่านตรวจคนเข้าเมือง จำคุก 6 เดือน ฐานเป็นคนต่างด้าวอยู่ในราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาต จำคุก 6 เดือน ฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย จำคุกตลอดชีวิต และปรับ 2,000,000 บาท ฐานร่วมกันมีวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต จำคุก 4 ปี ฐานร่วมกันมีอาวุธปืนมีทะเบียนของผู้อื่นไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาต จำคุก 1 ปี รวมโทษจำเลยที่ 1 ทุกกระทงแล้วให้จำคุกตลอดชีวิตและปรับ 2,000,000 บาท แล้วลดโทษให้จำเลยที่ 1 กึ่งหนึ่ง ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 ประกอบมาตรา 53 คงจำคุกจำเลยที่ 1 มีกำหนด 25 ปี และปรับ 1,000,000 บาท และศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืน เป็นการไม่ชอบเพราะไม่ได้ลดโทษก่อนตามมาตรา 78 แล้วจึงรวมโทษตามมาตรา 91 แต่อย่างไรก็ตามเมื่อโจทก์ไม่ได้อุทธรณ์ฎีกา ศาลฎีกาจึงไม่อาจลงโทษจำคุกจำเลยที่ 1 ให้ถูกต้องได้ เนื่องจากเป็นการเพิ่มเติมโทษ ซึ่งต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 ประกอบมาตรา 225

 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2914/2554 ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ซึ่งบัญญัติว่า "เมื่อปรากฏว่าผู้ใดได้กระทำการอันเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้ศาลลงโทษผู้นั้นทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไป แต่ไม่ว่าจะมีการเพิ่มโทษ ลดโทษ หรือลดมาตราส่วนโทษด้วยหรือไม่ก็ตาม เมื่อรวมโทษทุกกระทงแล้ว โทษจำคุกทั้งสิ้นต้องไม่เกินกำหนดดังต่อไปนี้..." ฉะนั้นจากข้อความของบทบัญญัติของมาตรา 91 ที่ว่า "แต่ไม่ว่าจะมีการเพิ่มโทษ ลดโทษ หรือลดมาตราส่วนโทษด้วยหรือไม่ก็ตาม" จะเห็นได้ว่าอัตราโทษสูงสุดตามที่มาตรา 91 กำหนดไว้นั้น ถ้าเป็นกรณีที่มีการเพิ่มโทษหรือลดโทษจะต้องนำมาใช้เมื่อมีการเพิ่มโทษหรือลดโทษแล้ว มิใช่ต้องปรับบทมาตรา 91 เสียก่อนแล้วจึงพิจารณาลดโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 ดังนั้น ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาเรียงกระทงลงโทษจำคุกตลอดชีวิตจำเลยที่ 1 ก่อน 2 กระทง แล้วลดโทษให้กระทงละกึ่งหนึ่งโดยเปลี่ยนโทษจำคุกตลอดชีวิตเป็นโทษจำคุก 50 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 53 เหลือโทษจำคุกกระทงละ 25 ปี แล้วจึงนำบทบัญญัติมาตรา 91 (3) มาปรับว่าโทษจำคุกจำเลยที่ 1 มีกำหนด 50 ปี จึงชอบแล้ว

 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2914/2554 ตาม ป.อ. มาตรา 91 บัญญัติว่า "เมื่อปรากฏว่าผู้ใดได้กระทำการอันเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้ศาลลงโทษผู้นั้นทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไป แต่ไม่ว่าจะมีการเพิ่มโทษ ลดโทษ หรือลดมาตราส่วนโทษด้วยหรือไม่ก็ตาม เมื่อรวมโทษทุกกระทงแล้ว โทษจำคุกทั้งสิ้นต้องไม่เกินกำหนดดังต่อไปนี้" ข้อความของมาตรา 91 ที่ว่า "แต่ไม่ว่าจะมีการเพิ่มโทษ ลดโทษหรือลดมาตราส่วนโทษด้วยหรือไม่ก็ตาม" จะเห็นได้ว่า อัตราโทษสูงสุดตามที่มาตรา 91 กำหนดไว้นั้น ถ้าเป็นกรณีที่มีการเพิ่มโทษหรือลดโทษจะต้องนำมาใช้เมื่อมีการเพิ่มโทษหรือลดโทษแล้ว มิใช่ต้องปรับบทมาตรา 91 เสียก่อนแล้วจึงจะพิจารณาลดโทษตาม ป.อ. มาตรา 78 ดังนั้น ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาเรียงกระทงลงโทษจำคุกตลอดชีวิตจำเลยที่ 1 ก่อน 2 กระทงแล้วลดโทษให้กระทงละกึ่งหนึ่งโดยเปลี่ยนโทษจำคุกตลอดชีวิตเป็นโทษจำคุก 50 ปี ตาม ป.อ. มาตรา 53 เหลือโทษจำคุกกระทงละ 25 ปี แล้วจึงนำบทบัญญัติมาตรา 91 (3) มาปรับว่าโทษจำคุกจำเลยที่ 1 มีกำหนด 50 ปี จึงชอบแล้ว

 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7279/2541 จำเลยยินยอมให้ พ. นำเฮโรอีนไปซุกซ่อนไว้ในที่ดินของจำเลยอันเป็นการให้ความช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกในการที่ พ. กับพวกมีเฮโรอีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย แม้โจทก์จะยังไม่ได้ฟ้อง พ. และยังไม่ได้ตัว น.ผู้ว่าจ้างให้ พ. ทำการซุกซ่อนเฮโรอีนมาดำเนินคดีก็ไม่เป็นเหตุให้จำเลยพ้นจากการเป็นผู้สนับสนุนไปได้

จำเลยกระทำความผิดต้องรับโทษตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษพ.ศ. 2522 มาตรา 66 วรรคสอง ซึ่งต้องระวางโทษจำคุกตลอดชีวิตหรือประหารชีวิตประกอบด้วยประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 53 โทษที่ศาลล่างทั้งสองวางลงโทษจำเลยจากฐานจำคุกตลอดชีวิตเป็นโทษต่ำสุดที่บัญญัติไว้ในกฎหมายแล้ว จึงวางโทษจำคุกสถานเบากว่านี้อีกไม่ได้

คำให้การชั้นจับกุมและชั้นสอบสวนที่จำเลยให้การว่าได้อนุญาตให้ พ. นำเฮโรอีนไปซุกซ่อนในที่ดินของจำเลยเท่ากับจำเลยรับสารภาพในความผิดฐานสนับสนุนการมีเฮโรอีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและคำรับดังกล่าวนั้นได้ใช้ประกอบการวินิจฉัยว่าจำเลยได้กระทำความผิดอันเป็นประโยชน์ต่อการพิจารณาของศาล จึงสมควรลดโทษให้จำเล

 

 

บทความที่น่าสนใจ

-การด่าตำรวจจราจรว่ารับสินบนจะมีผิดความหรือไม่

-ด่ากันทางโทรศัพท์

-ส่งมอบโฉนดให้เจ้าหนี้ยึดถือไว้เป็นหลักประกันต่อมาไปแจ้งความว่าโฉนดหายมีความผิดต้องโทษจำคุก

-การปลอมเป็นเอกสารจำเป็นต้องมีเอกสารที่แท้จริงหรือไม

-การลงลายมือแทนกันเป็นความผิดฐานปลอมเอกสาร

-เมื่อครอบครองปรปักษ์ที่ดินแล้ว ต่อมาเกิดที่งอกใครเป็นเจ้าของที่งอกนั้น

-ซื้อที่ดินในหมู่บ้านจัดสรร แล้วไปซื้อที่ดินข้างนอกที่ติดกับหมู่บ้าน
เพื่อเชื่อมที่ดินดังกล่าวเข้ากับที่ดินในหมู่บ้าน

-ขายฝากที่ดินต่อมาผู้ขายได้ปลูกสร้างบ้านบนที่ดิน แต่ไม่ได้ไถ่ภายในกำหนดบ้านเป็นของใคร

-ไม่ได้เข้าร่วมในการแบ่งกรรมสิทธิ์รวม

-ปลูกต้นไม้ในทางสาธารณะสามารถฟ้องให้รื้อถอนออกไปได้

-การทำสัญญายอมในศาลโดยการครอบครองในป่าสงวน

-เจ้าของรวมนำโฉนดที่ดินไปประหนี้เงินกู้ผลเป็นอย่างไร