สำนักงานกฎหมาย

นพนภัส

ทนายความเชียงใหม่

ประมวลกฎหมายอาญา

มาตรา ๓๙  วิธีการเพื่อความปลอดภัย มีดังนี้
(๑) กักกัน
(๒) ห้ามเข้าเขตกำหนด
(๓) เรียกประกันทัณฑ์บน
(๔) คุมตัวไว้ในสถานพยาบาล
(๕) ห้ามการประกอบอาชีพบางอย่าง

คำพิพากษาที่เกี่ยวข้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7607/2542

คดีความผิดต่อส่วนตัวจำเลยที่ 3 ฎีกาแต่ผู้เดียว ต่อมาระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาโจทก์ยื่นคำร้อง ขอถอนฟ้อง เมื่อปรากฏว่า จำเลยที่ 1 และที่ 3 ไม่คัดค้าน ศาลฎีกาจึงอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องจำเลยได้และสิทธินำ คดีอาญามาฟ้องย่อมระงับตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2) ศาลฎีกาให้จำหน่ายคดี

 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 537/2542

ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 276 วรรคแรก และมาตรา 310 วรรคแรก เป็นความผิดอันยอมความได้ เมื่อผู้เสียหาย ถอนคำร้องทุกข์ก่อนคดีถึงที่สุด สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(2) คำพิพากษาของศาลชั้นต้นในส่วนนี้ย่อมระงับไปในตัวไม่มีผล บังคับอีกต่อไป อุทธรณ์ของจำเลยที่ว่า จำเลยมิได้ตบหน้าผู้เสียหายแต่หากจะฟังว่าจำเลยตบหน้าผู้เสียหายจริงก็เป็นเพราะผู้เสียหาย ตบหน้าจำเลย จำเลยจึงตบหน้าผู้เสียหายเพื่อป้องกันตัวนั้น นอกจากจะเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงว่าจำเลยมิได้กระทำผิด แล้ว ยังได้กล่าวอ้างข้อเท็จจริงขึ้นใหม่ว่าการกระทำของจำเลย เป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายจึงเป็นอุทธรณ์ในปัญหา ข้อเท็จจริงเพื่อนำมาสู่ปัญหาข้อกฎหมาย ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 ทวิ

 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 24/2513

ผู้ว่าคดีศาลแขวงย่อมอยู่ในความหมายของคำว่า พนักงานอัยการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 43 ทั้งนี้โดยนัยแห่ง พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง มาตรา 5 ประกอบกับประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(5) ฉะนั้นจึงย่อมมีอำนาจฟ้องขอให้กักกันจำเลยได้

กักกันมิใช่โทษอาญา แต่เป็นวิธีการเพื่อความปลอดภัยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 39(1) ซึ่งมีลักษณะเบากว่าโทษจำคุก(คำพิพากษาฎีกาในที่ประชุมใหญ่ที่ 1455/2511) ฉะนั้น จึงย่อมอยู่ในอำนาจของศาลแขวงที่จะพิจารณาพิพากษาให้กักกันจำเลยตามที่ผู้ว่าคดีฟ้องขอมาได้

บทความที่น่าสนใจ

-การด่าตำรวจจราจรว่ารับสินบนจะมีผิดความหรือไม่

-ด่ากันทางโทรศัพท์

-ส่งมอบโฉนดให้เจ้าหนี้ยึดถือไว้เป็นหลักประกันต่อมาไปแจ้งความว่าโฉนดหายมีความผิดต้องโทษจำคุก

-การปลอมเป็นเอกสารจำเป็นต้องมีเอกสารที่แท้จริงหรือไม

-การลงลายมือแทนกันเป็นความผิดฐานปลอมเอกสาร

-เมื่อครอบครองปรปักษ์ที่ดินแล้ว ต่อมาเกิดที่งอกใครเป็นเจ้าของที่งอกนั้น

-ซื้อที่ดินในหมู่บ้านจัดสรร แล้วไปซื้อที่ดินข้างนอกที่ติดกับหมู่บ้าน
เพื่อเชื่อมที่ดินดังกล่าวเข้ากับที่ดินในหมู่บ้าน

-ขายฝากที่ดินต่อมาผู้ขายได้ปลูกสร้างบ้านบนที่ดิน แต่ไม่ได้ไถ่ภายในกำหนดบ้านเป็นของใคร

-ไม่ได้เข้าร่วมในการแบ่งกรรมสิทธิ์รวม

-ปลูกต้นไม้ในทางสาธารณะสามารถฟ้องให้รื้อถอนออกไปได้

-การทำสัญญายอมในศาลโดยการครอบครองในป่าสงวน

-เจ้าของรวมนำโฉนดที่ดินไปประหนี้เงินกู้ผลเป็นอย่างไร