สำนักงานกฎหมาย

นพนภัส

ทนายความเชียงใหม่

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 

มาตรา 652 ถ้าในสัญญาไม่มีกำหนดเวลาให้คืนทรัพย์สินซึ่งยืมไป ผู้ให้ยืมจะบอกกล่าวแก่ผู้ยืมให้คืนทรัพย์สินภายในเวลาอันควร ซึ่งกำหนดให้ในคำบอกกล่าวนั้นก็ได้

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่เกี่ยวข้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1795/2545 หนังสือสัญญากู้ยืมเงินระบุคณะกรรมการกองทุนผู้บริหารสำนักงานการประถมศึกษาอำเภอเป็นผู้กู้โดยมีจำเลยเป็นผู้ลงนามในฐานะประธานคณะกรรมการ แต่เมื่อคณะกรรมการไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคลที่จะสามารถรับผิดต่อโจทก์ในฐานะบุคคลภายนอกสำหรับกิจการที่จำเลยกระทำไปดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 820 จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยเข้าทำสัญญาแทนตัวการที่มีตัวอยู่จริง ดังนั้น จำเลยจึงต้องรับผิดตามสัญญากู้ยืมเงินตามลำพัง

สัญญากู้ยืมเงินไม่ได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้เพียงแต่กำหนดให้จำเลยชำระดอกเบี้ยทุกวันสิ้นเดือน โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดอัตราร้อยละ 7.5ต่อปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 7 แม้จำเลยชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์อัตราร้อยละ 2 บาทต่อเดือน ก็เป็นการชำระดอกเบี้ยตามอำเภอใจโดยรู้อยู่ว่าตนไม่มีความผูกพันที่จะต้องชำระ จำเลยหามีสิทธิจะได้รับดอกเบี้ยที่ชำระไปแล้วคืนไม่ อย่างไรก็ตามเนื่องจากสัญญากู้ยืมเงินมิได้กำหนดเวลาให้จำเลยใช้คืนเงินที่กู้ยืมและไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้บอกกล่าวแก่จำเลยให้คืนเงินดังกล่าวภายในเวลาอันควรตามมาตรา 652จึงไม่อาจถือว่าวันที่ 1 สิงหาคม 2540 ซึ่งเป็นวันหลังจากวันที่จำเลยชำระดอกเบี้ยสำหรับเดือนสุดท้ายให้แก่โจทก์ เป็นวันที่จำเลยผิดนัด ต้องถือว่าจำเลยผิดนัดและต้องเสียดอกเบี้ยตั้งแต่วันฟ้องเป็นต้นไป

 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 917/2539 คำสั่งศาลชั้นต้นที่ว่าคดีที่โจทก์ฟ้องเป็นคดีไม่มีข้อยุ่งยากให้ดำเนินคดีอย่างคดีมโนสาเร่ เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา เมื่อจำเลยมิได้โต้แย้งไว้ก่อนศาลชั้นต้นพิพากษา จำเลยจึงไม่อาจอุทธรณ์ในปัญหาข้อนี้ได้ การเรียกให้ชำระหนี้เงินยืมซึ่งมิได้กำหนดเวลาอันจะพึงชำระหนี้ไว้ ต้องปรับด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 203 วรรคแรก มิใช่เป็นการเรียกให้คืนทรัพย์สินซึ่งยืมไปตามมาตรา 652 เมื่อสัญญากู้ยืมมิได้กำหนดวันชำระคืนโจทก์ผู้ให้กู้ย่อมจะเรียกให้จำเลยผู้กู้ชำระหนี้โดยพลันได้

 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2938/2538 สัญญากู้เงินมีข้อความว่า เมื่อครบกำหนดตามสัญญาแล้ว ถ้าผู้กู้ไม่นำต้นเงินมาชำระคืน ผู้ให้กู้อนุโลมให้ต่อสัญญาได้อีก เมื่อครบกำหนดตามสัญญากู้เงินผู้กู้ไม่ชำระเงินคืน ย่อมถือได้ว่าผู้ให้กู้และผู้กู้ได้ทำสัญญากู้เงินกันใหม่ต่อไปโดยไม่มีกำหนดเวลา

สัญญากู้เงินระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ไม่มีกำหนดเวลาชำระหนี้ไว้ เมื่อโจทก์มีหนังสือทวงถามให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้แก่โจทก์ แต่จำเลยที่ 1ไม่ชำระหนี้ภายในเวลาตามที่โจทก์กำหนด โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องบังคับให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ดังกล่าวได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 652 โดยไม่จำต้องบอกเลิกสัญญากู้เงินก่อน ดังนั้น ปัญหาตามฎีกาของจำเลยที่ 1 ที่ว่าโจทก์ยังไม่ได้บอกเลิกสัญญาแก่จำเลยที่ 1 ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องนั้น จึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย

 

 

บทความที่น่าสนใจ

-การด่าตำรวจจราจรว่ารับสินบนจะมีผิดความหรือไม่

-ด่ากันทางโทรศัพท์

-ส่งมอบโฉนดให้เจ้าหนี้ยึดถือไว้เป็นหลักประกันต่อมาไปแจ้งความว่าโฉนดหายมีความผิดต้องโทษจำคุก

-การปลอมเป็นเอกสารจำเป็นต้องมีเอกสารที่แท้จริงหรือไม

-การลงลายมือแทนกันเป็นความผิดฐานปลอมเอกสาร

-เมื่อครอบครองปรปักษ์ที่ดินแล้ว ต่อมาเกิดที่งอกใครเป็นเจ้าของที่งอกนั้น

-ซื้อที่ดินในหมู่บ้านจัดสรร แล้วไปซื้อที่ดินข้างนอกที่ติดกับหมู่บ้าน
เพื่อเชื่อมที่ดินดังกล่าวเข้ากับที่ดินในหมู่บ้าน

-ขายฝากที่ดินต่อมาผู้ขายได้ปลูกสร้างบ้านบนที่ดิน แต่ไม่ได้ไถ่ภายในกำหนดบ้านเป็นของใคร

-ไม่ได้เข้าร่วมในการแบ่งกรรมสิทธิ์รวม

-ปลูกต้นไม้ในทางสาธารณะสามารถฟ้องให้รื้อถอนออกไปได้

-การทำสัญญายอมในศาลโดยการครอบครองในป่าสงวน

-เจ้าของรวมนำโฉนดที่ดินไปประหนี้เงินกู้ผลเป็นอย่างไร

-การต่อเติมภายหลังปลูกสร้างโรงเรือนรุกล้ำ

-คนต่างด้าวก็สามารถครอบครองปรปักษ์ได้

-ผู้รับการให้ด่าว่าผู้ให้ ผู้ให้สามารถเพิกถอนการให้ได้

-ยกที่ดินให้แล้ว แต่มีสิทธิเก็บกินโดยไม่ได้จดทะเบียนผลเป็นอย่างไร

-ด่าว่า จัญไร ถอนการให้ได้

-ฟ้องเรียกค่าขาดกำไร เป็นค่าเสียหายพฤติการณ์พิเศษ

-หนังสือทวงถามส่งไปที่บ้านตามภูมิลำเนาอ้างว่าไม่ได้รับได้หรือไม่

-การยินยอมของเด็กที่ให้ล่วงละเมิดทางเพศ ยังคงเป็นความผิดฐานละเมิด

-ดูหมิ่นเรียกค่าเสียหายได้เท่าไหร่

-ตั้งใจไปกู้แต่เจ้าหนี้ให้ทำสัญญาขายฝากผลเป็นอย่างไร

-คำมั่นจะให้เช่าเป็นการแสดงเจตนาฝ่ายเดียว

-การโอนสิทธิการเช่าทำได้หรือไม่