ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 

มาตรา 703 อันอสังหาริมทรัพย์นั้นอาจจำนองได้ไม่ว่าประเภทใด ๆ
สังหาริมทรัพย์อันจะกล่าวต่อไปนี้ก็อาจจำนองได้ดุจกัน หากว่าได้จดทะเบียนไว้แล้วตามกฎหมาย คือ
(๑) เรือมีระวางตั้งแต่ห้าตันขึ้นไป
(๒) แพ
(๓) สัตว์พาหนะ
(๔) สังหาริมทรัพย์อื่นใด ๆ ซึ่งกฎหมายหากบัญญัติไว้ให้จดทะเบียนเฉพาะการ

 

 

 

 


 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่เกี่ยวข้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 399/2509

เครื่องจักรโรงสี แม้จะมีน้ำหนักหรือราคามากสักเท่าใดโดยสภาพย่อมถอดถอนโยกย้ายได้มิใช่ทรัพย์ที่ติดอยู่กับที่ดินหรือประกอบเป็นอันเดียวกับที่ดินแต่ย่อมแยกออกจากตัวโรงสีได้โดยไม่ต้องทำลายหรือทำให้ตัวโรงสีนั้นเปลี่ยนแปลงรูปทรง ฉะนั้นแม้เครื่องจักรจะเป็นสารสำคัญ ก็มิใช่ส่วนควบแต่เป็นเพียงของใช้ประจำอยู่กับโรงสี จึงเป็นเครื่องอุปกรณ์ซึ่งเป็นสังหาริมทรัพย์เท่านั้น

สังหาริมทรัพย์นั้น ตามกฎหมายจำนองได้เฉพาะแต่ที่ระบุไว้ในมาตรา 703 เครื่องจักรโรงสีมิใช่ทรัพย์ที่ระบุไว้เช่นนั้น จึงจำนองไม่ได้

 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1534/2505

คำว่า "ประกัน" ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 155 (2) นั้น หมายความถึงการประกันการชำระหนี้

การที่จะให้อสังหาริมทรัพย์ใดเป็นการประกันการชำระหนี้ได้ ต้องกระทำด้วยวิธีการจำนองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 702, 703 และต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา 704

สัญญากู้ยืมเงินที่ระบุไว้ว่าผู้กู้ได้นำใบแจ้งการครอบครองที่ดินสวนยาง 1 แปลง เนื้อที่ 9 ไร่เศษให้ผู้ให้กู้ยึดถือไว้เป็นประกันด้วยนั้น หาใช่เป็นการเอาสวนยางเข้าประกันการชำระหนี้ตามกฎหมายไม่ ฉะนั้น ถ้าผู้กู้ทำนิติกรรมยกสวนบางบางส่วนให้คนอื่นไป จึงถือไม่ได้ว่าลูกหนี้ทำให้ลดน้อยถอยลงซึ่งประกันอันได้ให้ไว้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 155 (2)

บทความที่น่าสนใจ

-การด่าตำรวจจราจรว่ารับสินบนจะมีผิดความหรือไม่

-ด่ากันทางโทรศัพท์

-ส่งมอบโฉนดให้เจ้าหนี้ยึดถือไว้เป็นหลักประกันต่อมาไปแจ้งความว่าโฉนดหายมีความผิดต้องโทษจำคุก

-การปลอมเป็นเอกสารจำเป็นต้องมีเอกสารที่แท้จริงหรือไม

-การลงลายมือแทนกันเป็นความผิดฐานปลอมเอกสาร

-เมื่อครอบครองปรปักษ์ที่ดินแล้ว ต่อมาเกิดที่งอกใครเป็นเจ้าของที่งอกนั้น

-ซื้อที่ดินในหมู่บ้านจัดสรร แล้วไปซื้อที่ดินข้างนอกที่ติดกับหมู่บ้าน
เพื่อเชื่อมที่ดินดังกล่าวเข้ากับที่ดินในหมู่บ้าน

-ขายฝากที่ดินต่อมาผู้ขายได้ปลูกสร้างบ้านบนที่ดิน แต่ไม่ได้ไถ่ภายในกำหนดบ้านเป็นของใคร

-ไม่ได้เข้าร่วมในการแบ่งกรรมสิทธิ์รวม

-ปลูกต้นไม้ในทางสาธารณะสามารถฟ้องให้รื้อถอนออกไปได้

-การทำสัญญายอมในศาลโดยการครอบครองในป่าสงวน

-เจ้าของรวมนำโฉนดที่ดินไปประหนี้เงินกู้ผลเป็นอย่างไร

-การต่อเติมภายหลังปลูกสร้างโรงเรือนรุกล้ำ

-คนต่างด้าวก็สามารถครอบครองปรปักษ์ได้

-ผู้รับการให้ด่าว่าผู้ให้ ผู้ให้สามารถเพิกถอนการให้ได้

-ยกที่ดินให้แล้ว แต่มีสิทธิเก็บกินโดยไม่ได้จดทะเบียนผลเป็นอย่างไร

-ด่าว่า จัญไร ถอนการให้ได้

-ฟ้องเรียกค่าขาดกำไร เป็นค่าเสียหายพฤติการณ์พิเศษ

-หนังสือทวงถามส่งไปที่บ้านตามภูมิลำเนาอ้างว่าไม่ได้รับได้หรือไม่

-การยินยอมของเด็กที่ให้ล่วงละเมิดทางเพศ ยังคงเป็นความผิดฐานละเมิด

-ดูหมิ่นเรียกค่าเสียหายได้เท่าไหร่

-ตั้งใจไปกู้แต่เจ้าหนี้ให้ทำสัญญาขายฝากผลเป็นอย่างไร

-คำมั่นจะให้เช่าเป็นการแสดงเจตนาฝ่ายเดียว

-การโอนสิทธิการเช่าทำได้หรือไม่