สำนักงานกฎหมาย

นพนภัส

ทนายความเชียงใหม่

เอารถชนกันทำให้คนที่นั่งมาด้วยถึงแก่ความตายจะมีความผิดทางแพ่งอย่างไร

 

 

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

ประมวลฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 ผู้ใดจงใจหรือประมาทเลินเล่อ ทำต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมายให้เขาเสียหายถึงแก่ชีวิตก็ดี แก่ร่างกายก็ดี อนามัยก็ดี เสรีภาพก็ดี ทรัพย์สินหรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดก็ดี ท่านว่าผู้นั้นทำละเมิดจำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น

 

ข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้อง

การที่จะอธิบายดังต่อไปนี้ เป็นกรณีของเหตุการณ์ของรถชนกันทำให้เกิดมีบุคคลถึงแก่ความตายอันไม่ใช่ผู้กระทำละเมิดเอง เช่น นาย ก ขับรถยนต์มามีนาย ข นั่งรถมาด้วย และมีนาย ค ขับรถยนต์มาเช่นกัน ด้วยความประมาทของนาย ก และนาย ค ทำให้รถยนต์ทั้งสองคันชนกัน ทำให้นาย ข ถึงแก่ความตาย อย่างนี้ นาย ก และ นาย ค ประมาททำให้นาย ข ได้รับความเสียหาย ทายาทของนาย ค มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากนาย ก และ นาย ค ได้ ดังที่ศาลฎีกาได้พิพากษาดังนี้
การที่ ด.บุตรโจทก์ถึงแก่ความตายเป็นเพราะจำเลยกับส.ต่างประมาท มิใช่เป็นการร่วมกระทำละเมิด เมื่อความเสียหายที่เกิดขึ้นเป็นความเสียหายอันเดียวกัน จึงเป็นกรณีบุคคลหลายคนเป็นหนี้อันจะแบ่งแยกจากกันชำระมิได้ ผู้กระทำละเมิดทุกคนต้องร่วมรับผิดในความเสียหายต่อโจทก์อย่างลูกหนี้ร่วมกัน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 301 ประกอบมาตรา 291 ศาลจะวินิจฉัยว่าจำเลยประมาทน้อยกว่า ส.จึงให้จำเลยรับผิดเพียง3 ใน 10 ส่วน ตามความร้ายแรงแห่งละเมิดหาได้ไม่ เพราะด.มิได้มีส่วนก่อให้เกิดความเสียหายด้วย ผู้กระทำละเมิดแต่ละคนจะรับผิดมากน้อยเพียงใดเป็นเรื่องระหว่างผู้กระทำละเมิดด้วยกันเอง

 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 534/2534
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายของนายดำรงค์พรมแสนปัง ซึ่งเกิดจากนางหนูพิน พรมแสนปัง เมื่อวันที่ 8พฤษภาคม 2527 จำเลยซึ่งเป็นเจ้าของและผู้ขับรถยนต์รับจ้างบรรทุกผู้โดยสารคันหมายเลขทะเบียน 10-0211 หนองคาย ได้ขับรถยนต์คันดังกล่าวด้วยความประมาทปราศจากความระมัดระวังและจำเลยสามารถใช้ความระมัดระวังเช่นว่านั้นได้ แต่หาได้ใช้ให้เพียงพอไม่ โดยจำเลยขับรถยนต์คันดังกล่าวไปตามถนนสายปากคาด-โซ่พิสัยซึ่งเป็นถนนดินลูกรัง มุ่งหน้าไปทางอำเภอโซ่พิสัยด้วยความเร็วเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด มีฝุ่นฟุ้งไม่อาจมองเห็นทางข้างหน้าได้ในระยะ 60 เมตร และมีกองดินลูกรังกองอยู่ด้านขวามือของถนนเป็นระยะ ๆ ทำให้ช่องทางเดินรถแคบลง ในขณะนั้นนายสุริยันต์พรมแสนปัง ขับขี่รถจักรยานยนต์โดยมีนายดำรงค์ พรมแสนปังผู้ตายนั่งซ้อนท้ายแล่นอยู่ข้างหน้ารถยนต์ของจำเลยโฉมหน้าไปทางเดียวกัน ในภาวะเช่นนี้จำเลยควรขับรถด้วยความเร็วต่ำและไม่ควรขับแซงรถคันอื่นที่แล่นอยู่ข้างหน้า แต่จำเลยกลับขับรถยนต์ด้วยความเร็วสูงเพื่อจะแซงรถจักรยานยนต์คันที่นายสุริยันต์ขับขี่และนายดำรงค์นั่งซ้อนท้าย เป็นเหตุให้รถยนต์ที่จำเลยขับเฉี่ยวนายดำรงค์ หรือส่วนใดส่วนหนึ่งทางด้านขวาของรถจักรยานยนต์ทำให้รถจักรยานยนต์เสียหลักล้มขวางทาง เป็นเหตุให้รถยนต์ที่จำเลยขับทับรถจักรยานยนต์ และทับนายดำรงค์ ได้รับอันตรายสาหัสและถึงแก่ความตายในเวลาต่อมา ขณะมีชีวิตอยู่นายดำรงค์เรียนชั้นม.3 หากนายดำรงค์ไม่ถึงแก่ความตาย ย่อมมีโอกาสประกอบอาชีพและโจทก์ต้องได้รับค่าอุปการะเลี้ยงดูจากนายดำรงค์อย่างต่ำไม่น้อยกว่าเดือนละ 500 บาท ไปจนตลอดชีวิต แต่โจทก์ขอคิดค่าอุปการะเลี้ยงดูเพียง 10 ปี เป็นเงิน 60,000 บาท โจทก์ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการจัดงานศพของนายดำรงค์ ตลอดระยะเวลา 3 วัน เป็นเงินทั้งสิ้น 20,000 บาท โจทก์คิดดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีในต้นเงินจำนวน 80,000 บาท นับแต่วันทำละเมิดถึงวันฟ้องเป็นเวลา 11 เดือนเศษ โจทก์คิดเพียง 11 เดือน เป็นดอกเบี้ยจำนวน5,500 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 85,500 บาท ขอให้บังคับจำเลยใช้เงินจำนวน 85,500 บาท แก่โจทก์ พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีในต้นเงินจำนวน 80,000 บาท นับแต่วันถัดจากวันฟ้องไปจนกว่าจะชำระเสร็จ
จำเลยให้การว่า จำเลยมิได้ขับรถยนต์โดยประมาทและมิได้ขับรถเร็ว สภาพของถนนสายปากคาด-โซ่พิสัยไม่ดี นายสุริยันต์พรมแสนปัง ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ที่นายดำรงค์ พรมแสนปังบุตรโจทก์นั่งซ้อนท้ายขับขี่ด้วยความคึกคะนอง แซงรถยนต์ที่จำเลยขับด้วยความเร็วสูง ปีนกองหินข้างทางเสียหลักแฉลบมาขวางทางรถยนต์ที่จำเลยขับ จำเลยหยุดรถได้ทันท่วงทีโดยคานส่งของรถจำเลยสะดุดครูดรถจักรยานยนต์ที่ล้มขวางทางเท่านั้น ส่วนนายสุริยันต์และนายดำรงค์กระเด็นตกจากรถไปก่อนแล้ว ข้ออ้างของโจทก์เรื่องขาดไร้อุปการะนั้นเลื่อนลอย ไม่แน่ว่านายดำรงค์จะสามารถเรียนต่อจนสำเร็จและมีโอกาสทำงานหรือไม่ ค่าใช้จ่ายในการทำศพอย่างสูงไม่เกิน 10,000 บาท ขอให้ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า
1. จำเลยประมาทหรือไม่
2. ค่าเสียหายมีเพียงใด
ในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น คู่ความแถลงร่วมกันว่าในประเด็นข้อพิพาทที่ว่าจำเลยประมาทหรือไม่ โจทก์จำเลยไม่ติดใจสืบพยาน โดยขอถือเอาผลของคำพิพากษาคดีอาญาหมายเลขดำที่227/2528 (หมายเลขแดงที่ 2336/2528) ระหว่างพนักงานอัยการจังหวัดหนองคาย โจทก์ นายบัวแสง ชนชิต ที่ 1 นายสุริยันต์ พรมแสนปังที่ 2 จำเลย ของศาลชั้นต้นแทน

ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วว่า ตามคดีอาญาหมายเลขดำที่ 227/2528หมายเลขแดงที่ 2336/2528 ของศาลชั้นต้นที่คู่ความแถลงร่วมกันให้ถือเอาผลของคำพิพากษาในคดีดังกล่าวรับฟังได้ว่า นายสุริยันต์พรมแสนปัง และจำเลยต่างก็ประมาท และศาลชั้นต้นเห็นว่านายสุริยันต์ พรมแสนปัง ประมาทมากกว่าจำเลย จึงกำหนดความรับผิดในค่าสินไหมทดแทนตามความร้ายแรงแห่งละเมิด โดยให้จำเลยรับผิดเพียง 3 ใน 10 ส่วน ศาลกำหนดค่าปลงศพเป็นเงิน 10,000 บาทค่าขาดไร้อุปการะ 30,000 บาท รวมเป็นเงิน 40,000 บาท จำเลยต้องรับผิด 3 ใน 10 ส่วนของเงินดังกล่าว คิดเป็นเงิน 12,000 บาทพิพากษาให้จำเลยชำระเงิน

 

ตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2520/2549

 

โจทก์ฟ้องขอให้พิพากษาให้โจทก์และจำเลยหย่าขาดจากกัน หากจำเลยไม่ไปจดทะเบียนการหย่าให้ถือเอาคำพิพากษาของศาลแทนการแสดงเจตนาของจำเลย

จำเลยให้การ ขอให้ยกฟ้อง

ศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์และจำเลยหย่าขาดจากการเป็นสามีภริยากัน คำขออื่นให้ยก

จำเลยอุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิพากษายืน

จำเลยฎีกา

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "...พิเคราะห์แล้วข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติว่า โจทก์จำเลยเป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมาย จดทะเบียนสมรสกันเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2508 ตามสำเนาทะเบียนการสมรสเอกสารหมาย จ.1 เดิมอยู่กินด้วยกันที่บ้านเลขที่ 58 หมู่ที่ 1 ตำบลฝายหลวง อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ มีบุตรด้วยกัน 3 คน ประมาณปี 2517 โจทก์แยก

 

 

 

จำนวน 12,000 บาท แก่โจทก์ พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีในจำนวนเงินดังกล่าวนับแต่วันทำละเมิด(8 พฤษภาคม 2527) ไปจนกว่าชำระเสร็จแก่โจทก์ ให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์โดยกำหนดค่าทนายความให้ 1,000 บาท
โจทก์อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยชำระเงินค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์ 40,000 บาท พร้อมด้วยดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี นับแต่วันทำละเมิด (8 พฤษภาคม 2527) ไปจนกว่าจะชำระเสร็จ ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์เป็นพับ
จำเลยฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "คดีนี้เป็นคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาสำหรับคดีอาญานั้น ศาลชั้นต้นพิพากษาตามคดีหมายเลขแดงที่2336/2528 ของศาลชั้นต้น โดยฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยและนายสุริยันต์ พรมแสนปัง ต่างประมาทด้วยกันเป็นเหตุให้รถยนต์โดยสารที่จำเลยขับชนกับรถจักรยานยนต์ที่นายสุริยันต์ขับขี่ทำให้นายดำรงค์ พรมแสนปัง บุตรโจทก์ซึ่งนั่งซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์คันเกิดเหตุถึงแก่ความตาย ดังนั้น ในคดีนี้ซึ่งเป็นส่วนแพ่งต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาส่วนอาญาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 46ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่า จำเลยกับนายสุริยันต์ ต่างประมาทด้วยกันเป็นเหตุให้นายดำรงค์บุตรโจทก์ถึงแก่ความตายปัญหาคงมีเพียงว่า จำเลยจะต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพียงใดในปัญหาดังกล่าวศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า โจทก์สมควรได้รับชดใช้ค่าสินไหมทดแทนรวมทั้งสิ้นเป็นเงิน 40,000 บาท โดยกำหนดเป็นค่าปลงศพ 10,000 บาท และค่าขาดไร้อุปการะ 30,000 บาท ในชั้นนี้มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยเพียงว่า จำเลยจะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนให้โจทก์เต็มจำนวน 40,000 บาท หรือจะชดใช้เพียง 3 ใน 10 ส่วนของเงิน 40,000 บาท ตามข้อฎีกาของจำเลย เห็นว่า คดีนี้โจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้โจทก์ เนื่องจากจำเลยทำละเมิดเป็นเหตุให้นายดำรงค์บุตรโจทก์ถึงแก่ความตาย โจทก์ได้รับความเสียหาย ข้อเท็จจริงฟังยุติว่าจำเลยกับนายสุริยันต์ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ที่นายดำรงค์ผู้ตายนั่งซ้อนท้ายมาต่างประมาทด้วยกันมิใช่เป็นการร่วมกันกระทำละเมิด นายดำรงค์ผู้ตายซึ่งโจทก์สืบสิทธิมาฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนจากจำเลย เป็นเพียงผู้ที่นั่งซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์ที่นายสุริยันต์ขับขี่เท่านั้น มิได้มีส่วนทำความผิดอย่างใดอย่างหนึ่งก่อให้เกิดความเสียหายด้วยและความเสียหายที่เกิดขึ้นเป็นความเสียหายอันเดียวกัน จึงเป็นกรณีบุคคลหลายคนเป็นหนี้อันจะแบ่งแยกจากกันชำระหนี้มิได้ผู้ทำละเมิดทุกคนต้องร่วมกันรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการกระทำละเมิดนั้นต่อโจทก์อย่างลูกหนี้ร่วมกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 301 ประกอบด้วยมาตรา 291 ส่วนการที่ผู้ทำละเมิดแต่ละคนจะรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้นมากน้อยเพียงใดเป็นเรื่องระหว่างผู้ทำละเมิดด้วยกันเอง เทียบกับคำพิพากษาฎีกาที่ 382/2529 ระหว่างนางสาวชุลีพร กรศรีสวัสดิ์ กับพวกโจทก์ นายพนอ นพคุณ กับพวกจำเลย ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยรับผิดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เต็มจำนวนเงิน 40,000 บาทชอบแล้ว ฎีกาของจำเลยฟังไม่ขึ้น
พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกาให้เป็นพับ

บทความที่น่าสนใจ

-การด่าตำรวจจราจรว่ารับสินบนจะมีผิดความหรือไม่

-ด่ากันทางโทรศัพท์

-ส่งมอบโฉนดให้เจ้าหนี้ยึดถือไว้เป็นหลักประกันต่อมาไปแจ้งความว่าโฉนดหายมีความผิดต้องโทษจำคุก

-การปลอมเป็นเอกสารจำเป็นต้องมีเอกสารที่แท้จริงหรือไม

-การลงลายมือแทนกันเป็นความผิดฐานปลอมเอกสาร

-เมื่อครอบครองปรปักษ์ที่ดินแล้ว ต่อมาเกิดที่งอกใครเป็นเจ้าของที่งอกนั้น

-ซื้อที่ดินในหมู่บ้านจัดสรร แล้วไปซื้อที่ดินข้างนอกที่ติดกับหมู่บ้าน
เพื่อเชื่อมที่ดินดังกล่าวเข้ากับที่ดินในหมู่บ้าน

-ขายฝากที่ดินต่อมาผู้ขายได้ปลูกสร้างบ้านบนที่ดิน แต่ไม่ได้ไถ่ภายในกำหนดบ้านเป็นของใคร

-ไม่ได้เข้าร่วมในการแบ่งกรรมสิทธิ์รวม

-ปลูกต้นไม้ในทางสาธารณะสามารถฟ้องให้รื้อถอนออกไปได้

-การทำสัญญายอมในศาลโดยการครอบครองในป่าสงวน

-เจ้าของรวมนำโฉนดที่ดินไปประหนี้เงินกู้ผลเป็นอย่างไร

-การต่อเติมภายหลังปลูกสร้างโรงเรือนรุกล้ำ

-คนต่างด้าวก็สามารถครอบครองปรปักษ์ได้

-ผู้รับการให้ด่าว่าผู้ให้ ผู้ให้สามารถเพิกถอนการให้ได้

-ยกที่ดินให้แล้ว แต่มีสิทธิเก็บกินโดยไม่ได้จดทะเบียนผลเป็นอย่างไร

-ด่าว่า จัญไร ถอนการให้ได้

-ฟ้องเรียกค่าขาดกำไร เป็นค่าเสียหายพฤติการณ์พิเศษ

-หนังสือทวงถามส่งไปที่บ้านตามภูมิลำเนาอ้างว่าไม่ได้รับได้หรือไม่

-การยินยอมของเด็กที่ให้ล่วงละเมิดทางเพศ ยังคงเป็นความผิดฐานละเมิด

-ดูหมิ่นเรียกค่าเสียหายได้เท่าไหร่

-ตั้งใจไปกู้แต่เจ้าหนี้ให้ทำสัญญาขายฝากผลเป็นอย่างไร

-คำมั่นจะให้เช่าเป็นการแสดงเจตนาฝ่ายเดียว

-การโอนสิทธิการเช่าทำได้หรือไม่