สำนักงานกฎหมาย

นพนภัส

ทนายความเชียงใหม่

ได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์แล้ว สามารถยกเป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอกได้หรือไม่

บุคคลหลายๆ คน ได้ครอบครองที่ดินของบุคคลอื่นแล้ว จนได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินโดยการครอบครองปรปักษ์แล้ว จึงมีคำถามต่อไปว่า สิทธิครอบครองปรปักษ์ได้มาโดยทันทีหรือไม่

คำตอบว่า ได้มาโดยในทันที เพราะกฎหมายบัญญัติว่า การได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินโดยการครอบครองปรปักษ์นั้น เป็นการได้มาโดยทางอื่นนอกจากทางนิติกรรม ทำให้ได้กรรมสิทธิ์มาโดยทันที

 

มีคำถามต่อไปว่า ได้กรรมสิทธิ์มาแล้ว จะยกเป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอกหรือบุคคลที่ซื้อที่ดินจากเจ้าของเดิมได้หรือไม่

คำตอบแบ่งออกเป็น ๒ แนวทาง กล่าวคือ แนวทางแรก หากว่า ที่ดินที่ได้ครอบครองปรปักษ์นั้น ได้กรรมสิทธิ์มาก่อนที่จะมีการขายที่ดินออกไปต่ออีกทอดหนึ่ง แล้วผู้ครอบครองปรปักษ์ยังคงครอบครองที่ดินต่อไปอีกเกินว่า ๑๐ ปี นับแต่วันที่มีการซื้อขายที่ดิน สิทธิในการครอบครองปรปักษ์ของผู้ครอบครองปรปักษ์จะมีสิทธิดีกว่าเจ้าของใหม่ที่ซื้อที่ดินจากเจ้าของเดิม

 

คำตอบอีกแนวทางหนึ่ง กล่าวคือ ผู้ครอบครองปรปักษ์ได้กรรมสิทธิ์มาแล้ว ต่อมาเจ้าของที่ดินได้ขายที่ดินให้แก่บุคคลภายนอกไป แล้วต่อมาผู้ซื้อที่ดินได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินโดยการทำสัญญาซื้อขายที่ดินกับเจ้าของเดิม แต่ผู้ครอบครองปรปักษ์ยังครอบครองที่ดินยังไม่ครบ ๑๐ ปี นับแต่ได้มีการซื้อขายที่ดินกัน อย่างนี้ ผู้ซื้อที่ดินจากเจ้าของเดิมย่อมมีสิทธิดีกว่าผู้ครอบครองที่ดินโดยการครอบครองปรปักษ์

 

คำพิพากษาที่เกี่ยข้องกับคำตอบดังกล่าวดังนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5833/2541

จำเลยได้ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทจนได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 แต่เมื่อจำเลยยังมิได้จดทะเบียนสิทธิการครอบครองปรปักษ์ดังกล่าวจึงไม่อาจใช้ยันโจทก์ซึ่งได้ซื้อที่ดินพิพาทมาจากการขายทอดตลาดของกรมสรรพากรโดยสุจริตและได้จดทะเบียนสิทธิตั้งแต่ปี 2531 ได้ และโจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยนับแต่ปี 2531 แล้ว หาใช่นับแต่วันที่โจทก์ได้ชำระราคาที่ดินพิพาทครบถ้วนคือวันที่ 19 มิถุนายน 2524 ไม่เมื่อโจทก์มาฟ้องคดีเมื่อปี 2536 เป็นเวลาไม่เกินกว่า 10 ปีโจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยออกไปจากที่พิพาทได้

 

โจทก์ฟ้องว่า เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2531โจทก์ซื้อที่ดินโฉนดเลขที่ 286 เนื้อที่ 88 ไร่ 3 งาน 96 ตารางวาจากการขายทอดตลาดและจะเข้าทำประโยชน์ ปรากฏว่าจำเลยได้ครอบครองปลูกบ้านเลขที่ 1 หมู่ที่ 8 อาศัยอยู่ในที่ดินของโจทก์ทางทิศเหนือเป็นเนื้อที่ 5 ไร่ 65 ตารางวา โจทก์บอกกล่าวขับไล่แล้วจำเลยเพิกเฉย เป็นการละเมิดสิทธิของโจทก์ทำให้โจทก์เสียหาย โจทก์อาจนำที่ดินที่จำเลยครอบครองไปให้ผู้อื่นเช่า ได้ค่าเช่าไม่น้อยกว่าเดือนละ 1,500 บาทขอให้บังคับจำเลยและบริวารรื้อถอนบ้านออกไปจากที่ดินของโจทก์ห้ามเกี่ยวข้องอีกต่อไป ให้จำเลยใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เดือนละ1,500 บาท นับแต่วันฟ้องจนกว่าจำเลยจะรื้อถอนบ้านออกจากที่ดินของโจทก์

จำเลยให้การต่อสู้คดี ขอให้ยกฟ้อง

ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยและบริวารรื้อถอนบ้านเลขที่ 1หมู่ที่ 8 ซึ่งปลูกอยู่ในที่ดินพิพาทตามเส้นสีเขียวในแผนที่พิพาทเอกสารหมาย จล.1 ออกไปจากที่ดินของโจทก์โฉนดเลขที่ 286ห้ามมิให้จำเลยและบริวารเข้าไปเกี่ยวข้องในที่ดินของโจทก์อีกต่อไป ให้จำเลยใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เดือนละ 300 บาทนับแต่วันฟ้องจนกว่าจำเลยและบริวารจะรื้อถอนบ้านออกจากที่ดินของโจทก์เสร็จ

จำเลยอุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษากลับให้ยกฟ้องโจทก์

โจทก์ฎีกา

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงรับฟังได้ในเบื้องต้นว่าจำเลยเป็นผู้ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาท ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินโฉนดเลขที่ 286 ที่โจทก์ซื้อมาจากการขายทอดตลาดของกรมสรรพากรเมื่อปี 2524 แต่เพิ่งมีการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์เมื่อปี 2531 คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ประการแรกว่า จำเลยได้ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทโดยเจตนาเป็นเจ้าของติดต่อกันมาเป็นเวลาเกินกว่าสิบปีหรือไม่ เห็นว่า พยานหลักฐานของจำเลยมีน้ำหนักดีกว่าพยานหลักฐานของโจทก์ ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าจำเลยได้ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทมาอย่างเป็นเจ้าของตลอดมาเป็นเวลากว่า 10 ปีแล้ว จำเลยจึงได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1382

ปัญหาต้องวินิจฉัยประการต่อไปมีว่า จำเลยจะยกสิทธิการครอบครองปรปักษ์ในที่ดินพิพาทดังกล่าวขึ้นต่อสู้โจทก์ได้หรือไม่ ข้อเท็จจริงปรากฏว่าจำเลยยังมิได้จดทะเบียนสิทธิการครอบครองปรปักษ์ดังกล่าว เมื่อได้ความตามที่โจทก์นำสืบว่าโจทก์ได้ซื้อที่ดินพิพาทดังกล่าวมาจากการขายทอดตลาดของกรมสรรพากร ซึ่งยึดมาขายจำนวนมาก และที่ดินโฉนดเลขที่ 286ซึ่งที่ดินพิพาทตั้งอยู่ก็เป็นที่ดินแปลงใหญ่ เนื้อที่กว้างมากก่อนเข้าประมูลสู้ราคามิได้มีการรังวัดตรวจสอบที่ดินทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ไปร้องคัดค้านการยึดทรัพย์ซึ่งได้ความจากคำเบิกความของนางเพ็ญศรี สุขสวัสดิ์พยานโจทก์ซึ่งเป็นสรรพากรอำเภอเมืองจันทบุรีว่าต้องปิดประกาศยึดทรัพย์ในที่ดินที่ยึด แม้โจทก์จะทราบว่าจำเลยมีบ้านพักอาศัยอยู่ในที่ดินพิพาทก็ได้ความว่าโจทก์ทราบเพียงว่าจำเลยเข้าไปอาศัยทำนา ข้อเท็จจริงจึงน่าเชื่อว่าโจทก์ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทมาโดยเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริต เมื่อโจทก์ได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตแล้วเมื่อปี 2531 จำเลยจึงไม่อาจอ้างสิทธิการครอบครองปรปักษ์ในที่ดินพิพาทใช้ยันโจทก์ได้โจทก์มีสิทธิในที่พิพาทดีกว่าจำเลย และย่อมมีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยนับแต่ปี 2531 หาใช่นับแต่วันที่โจทก์ได้ชำระราคาที่ดินพิพาทครบถ้วนคือวันที่ 19 มิถุนายน 2524 ไม่เมื่อโจทก์มาฟ้องคดีเมื่อปี 2536 เป็นเวลาไม่เกินกว่า 10 ปีโจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้อง

พิพากษากลับ ให้บังคับคดีไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น

 

 

 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2595/2541

จำเลยเข้าครอบครองและปลูกบ้านอยู่ในที่ดินพิพาทมากว่า 10 ปี จนจำเลยได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์มาก่อนที่โจทก์ได้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทมาจาก ว. เจ้าของกรรมสิทธิ์เดิม แม้จำเลยจะมิได้จดทะเบียนสิทธินั้น จึงไม่อาจยกขึ้นต่อสู้โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกที่ซื้อที่ดินนั้นมาโดยสุจริตเสียค่าตอบแทน และได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริต ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299 วรรคสองได้ก็ตาม แต่เมื่อปรากฏว่าโจทก์เองก็มิได้ดำเนินการเพื่อแสดงสิทธิดังกล่าวแก่จำเลย กลับปล่อยปละละเลยให้จำเลยครอบครองที่ดินพิพาทจนกลายเป็นการครอบครองปรปักษ์ต่อโจทก์ต่อมาอีก ฉะนั้น เมื่อจำเลยได้ครอบครองที่ดินพิพาทต่อมานับตั้งแต่โจทก์ซื้อที่ดินพิพาทโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของเป็นเวลาเกินกว่า 10 ปีแล้วจำเลยย่อมได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ และยกขึ้นใช้ยันโจทก์ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382

 

จำเลยเข้าครอบครองและปลูกบ้านอยู่ในที่ดินพิพาทมากว่า 10 ปี จนจำเลยได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์มาก่อนที่โจทก์ได้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทมาจาก ว. เจ้าของกรรมสิทธิ์เดิม แม้จำเลยจะมิได้จดทะเบียนสิทธินั้น จึงไม่อาจยกขึ้นต่อสู้โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกที่ซื้อที่ดินนั้นมาโดยสุจริตเสียค่าตอบแทน และได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริต ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299 วรรคสองได้ก็ตาม แต่เมื่อปรากฏว่าโจทก์เองก็มิได้ดำเนินการเพื่อแสดงสิทธิดังกล่าวแก่จำเลย กลับปล่อยปละละเลยให้จำเลยครอบครองที่ดินพิพาทจนกลายเป็นการครอบครองปรปักษ์ต่อโจทก์ต่อมาอีก ฉะนั้น เมื่อจำเลยได้ครอบครองที่ดินพิพาทต่อมานับตั้งแต่โจทก์ซื้อที่ดินพิพาทโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของเป็นเวลาเกินกว่า 10 ปีแล้วจำเลยย่อมได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ และยกขึ้นใช้ยันโจทก์ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382

 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3966/2524

แม้ศาลจะวินิจฉัยและมีคำสั่งในคดีเรื่องหนึ่ง ว่าจำเลย ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ แต่เมื่อจำเลยยังไม่ได้ไปจดทะเบียนสิทธิ จำเลยจึงไม่อาจใช้ยันบุคคลภายนอกผู้ได้กรรมสิทธิ์มาโดยสุจริต มีค่าตอบแทนและได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตแล้วได้

 

ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ ห้ามจำเลยและบริวารเข้าเกี่ยวข้องกับที่พิพาทอีกต่อไป และให้จำเลยระงับหรือเพิกถอนการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงกรรมสิทธิ์ตามคำสั่งศาลในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 46/2520 ของศาลจังหวัดนครปฐม ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน จำเลยฎีกา

ศาลฎีกาวินิจฉัยข้อกฎหมายว่า "จำเลยได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลจังหวัดนครปฐมมีคำสั่งแสดงว่าที่พิพาทตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยโดยการครอบครองปรปักษ์แล้ว ศาลจังหวัดนครปฐมได้ประกาศและทำการไต่สวนคำร้องตามระเบียบแล้ว ไม่มีผู้ใดคัดค้าน จึงได้มีคำสั่งแสดงว่าจำเลยได้กรรมสิทธิ์ในที่พิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ ดังปรากฏตามสำนวนคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 46/2520 ของศาลจังหวัดนครปฐม โจทก์จึงได้ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้

ปัญหาว่า โจทก์หรือจำเลยเป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ในที่พิพาท

จำเลยฎีกาว่า เมื่อจำเลยยื่นคำร้องขอให้ศาลจังหวัดนครปฐมมีคำสั่งแสดงว่าจำเลยได้กรรมสิทธิ์ในที่พิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์เมื่อได้มีการโฆษณาและปิดประกาศตามระเบียบแล้ว ไม่มีผู้ใดคัดค้าน ศาลจึงได้ทำการไต่สวนคำร้องและมีคำสั่งแสดงว่าจำเลยได้กรรมสิทธิ์ในที่พิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องร้องขอให้ศาลเพิกถอนคำสั่งของศาลดังกล่าวนั้นได้ พิเคราะห์แล้ว เห็นว่า แม้โจทก์จะไม่อาจฟ้องร้องขอให้เพิกถอนคำสั่งของศาลที่ถึงที่สุดแล้วในคดีดังกล่าวนั้นก็ตาม แต่ผลของคำสั่งศาลที่วินิจฉัยว่าจำเลยได้กรรมสิทธิ์ในที่พิพาทโดยที่จำเลยยังไม่ได้จดทะเบียนสิทธิก็หาอาจนำมาใช้ยันโจทก์บุคคลภายนอกผู้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในทะเบียนซึ่งปรากฏข้อเท็จจริงเป็นยุติแล้วว่าโจทก์ได้กรรมสิทธิ์มาโดยสุจริต มีค่าตอบแทนและได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตแล้ว ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299 วรรคสอง นั้นได้ไม่ ส่วนที่จำเลยฎีกาอีกประการหนึ่งว่า นายมด ไทรเมือง เจ้าของที่พิพาทเดิมขายฝากที่พิพาทให้แก่โจทก์โดยไม่สุจริตอันเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ซึ่งศาลหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง จึงไม่อาจนำเอาบทบัญญัติของมาตรา 1299 วรรคสอง ของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาใช้ในกรณีคดีนี้ได้ เห็นว่า ปัญหาดังกล่าวไม่ใช่เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน เมื่อจำเลยไม่ให้การต่อสู้เป็นประเด็นไว้ ก็ต้องถือตามข้อสันนิษฐานของกฎหมายว่า นายมดได้ขายฝากที่พิพาทให้แก่โจทก์โดยสุจริต ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 6 ศาลจึงมีอำนาจนำเอาบทบัญญัติของมาตรา 1299 วรรคสอง มาใช้ในกรณีคดีนี้ได้"

พิพากษายืน

บทความที่น่าสนใจ

-การด่าตำรวจจราจรว่ารับสินบนจะมีผิดความหรือไม่

-ด่ากันทางโทรศัพท์

-ส่งมอบโฉนดให้เจ้าหนี้ยึดถือไว้เป็นหลักประกันต่อมาไปแจ้งความว่าโฉนดหายมีความผิดต้องโทษจำคุก

-การปลอมเป็นเอกสารจำเป็นต้องมีเอกสารที่แท้จริงหรือไม

-การลงลายมือแทนกันเป็นความผิดฐานปลอมเอกสาร

-เมื่อครอบครองปรปักษ์ที่ดินแล้ว ต่อมาเกิดที่งอกใครเป็นเจ้าของที่งอกนั้น

-ซื้อที่ดินในหมู่บ้านจัดสรร แล้วไปซื้อที่ดินข้างนอกที่ติดกับหมู่บ้าน
เพื่อเชื่อมที่ดินดังกล่าวเข้ากับที่ดินในหมู่บ้าน

-ขายฝากที่ดินต่อมาผู้ขายได้ปลูกสร้างบ้านบนที่ดิน แต่ไม่ได้ไถ่ภายในกำหนดบ้านเป็นของใคร

-ไม่ได้เข้าร่วมในการแบ่งกรรมสิทธิ์รวม

-ปลูกต้นไม้ในทางสาธารณะสามารถฟ้องให้รื้อถอนออกไปได้

-การทำสัญญายอมในศาลโดยการครอบครองในป่าสงวน

-เจ้าของรวมนำโฉนดที่ดินไปประหนี้เงินกู้ผลเป็นอย่างไร

-การต่อเติมภายหลังปลูกสร้างโรงเรือนรุกล้ำ

-คนต่างด้าวก็สามารถครอบครองปรปักษ์ได้

-ผู้รับการให้ด่าว่าผู้ให้ ผู้ให้สามารถเพิกถอนการให้ได้

-ยกที่ดินให้แล้ว แต่มีสิทธิเก็บกินโดยไม่ได้จดทะเบียนผลเป็นอย่างไร

-ด่าว่า จัญไร ถอนการให้ได้

-ฟ้องเรียกค่าขาดกำไร เป็นค่าเสียหายพฤติการณ์พิเศษ

-หนังสือทวงถามส่งไปที่บ้านตามภูมิลำเนาอ้างว่าไม่ได้รับได้หรือไม่

-การยินยอมของเด็กที่ให้ล่วงละเมิดทางเพศ ยังคงเป็นความผิดฐานละเมิด

-ดูหมิ่นเรียกค่าเสียหายได้เท่าไหร่

-ตั้งใจไปกู้แต่เจ้าหนี้ให้ทำสัญญาขายฝากผลเป็นอย่างไร

-คำมั่นจะให้เช่าเป็นการแสดงเจตนาฝ่ายเดียว

-การโอนสิทธิการเช่าทำได้หรือไม่